วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

การพัฒนาคุณชีวิตผู้สูงอายุ(แบบยั่งยืน) มีมากกว่าระบบรัฐสวัสดิการ

เมื่อไม่นานมานี้เอง ผู้เขียนได้อ่านข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพบรายงานสถิติ ด้านสาธารณะสุขที่น่าสนใจ โดยกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นเปิดเผยว่า พลเมืองชาวญี่ปุ่นที่มีอายุเกิน 100 ปี มีอัตราที่เพิ่มติดต่อกันเป็นปีที่ 41 โดยมี อายุเฉลี่ยประชากรอายุเกิน 100 ปี อยู่ที่ 37 คน ต่อประชากร 100,000 คนนอกจากนั้นรายงานข่าวยังกล่าวว่าคนญี่ปุ่นยังมีอายุยืนยาวที่สุดในโลก ทั้งเพศหญิงและเพศชาย มีอายุเท่ากัน คือ 114 ปี และอายุเฉลี่ยของผู้สูงอายุของชาวญี่ปุ่นมากกว่า 65 ปี อยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนประชากร 128 ล้านคน ส่วนอัตราการเกิดของประชากรญี่ปุ่นอยู่ในระดับต่ำสุดของโลก ซึ่งส่งผลต่อความสมดุลวัยแรงงานในอนาคต

หากดูรายงานที่เกี่ยวกับการศึกษาเกี่ยวกับประชากรโลก รวมทั้งด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมของหน่วยงานแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา (Population Reference Bureau, www.prb.org) ซึ่งสรุปจะพบว่า โครงสร้างประชากรของประเทศพัฒนาแล้วกำลังเปลี่ยนไปจากเดิม จากที่เป็นพีระมิดฐานกว้างด้วยจำนวนประชากรอายุน้อย กลายเป็นพีระมิดกลับหัวที่ฐานจะแคบลงอย่างมาก จากอัตราการเกิดที่ลดลง และยอดพีระมิดขยายกว้างขึ้นด้วยจำนวนประชากรอายุมากเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการพัฒนาประเทศ ความเจริญทางด้านสาธารณสุข และระบบด้านสาธารณะสุขที่ดีขึ้น ซึ่งในประเทศไทยก็เป็นเฉกเช่นเดียวกันแม้ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่พัฒนาแล้ว

ผู้เขียนมองเรื่องมิติการการลดประชากรที่เกิด กับ การเพิ่มของผู้สูงอายุ ในบริบททางสังคมและเศรษฐกิจ ได้ 2 ประเด็น กล่าวคือ

ประเด็นแรก มองกลุ่มสูงอายุเป็นภาระของสังคม หรือครอบครัว ในอนาคต จากการที่จำนวนประชากร จากการเกิดที่ลดลง เมื่อเทียบกับวัยสูงอายุที่เพิ่มขึ้น ที่จะส่งผลกระทบต่อเรื่องเศรษฐกิจ การพัฒนาประเทศ และคุณภาพชีวิตของประชากร ดังนั้น ภาครัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคประชาสังคม จึงอาจต้องพยายามมีมาตรการทางสังคม เพื่อเข้ามารองรับประเด็นตรงนี้อย่างชัดเจนกับในการดูแลผู้สูงอายุ โดยเป็นระบบรัฐสวัสดิการ เช่น ระบบบำนาญ ประกันสังคม กองทุนต่างๆ รวมถึงระบบสาธารณะสุข ที่เฉพาะเจาะจงมาดูกลุ่มบุคคลเหล่านี้

ประเด็นที่สอง ในทางกลับกันหากเชื่อว่าทรัพยากรมนุษย์(Human Resources) เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ขึ้นอยู่กับการบริหารและการจัดการ ผู้สูงอายุก็เฉกเช่นเดียวกัน คือ เป็นบุคคลที่มีคุณค่า และประประโยชน์ต่อสังคม หากแต่ต้องมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และด้านเศรษฐกิจ โดยให้เป็นบุคคลที่มีคุณค่าต่อสังคม และเศรษฐกิจ เพราะกลุ่มบุคคลเหล่านี้ต่างมีประสบการณ์ในชีวิต การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างง่ายๆ เช่น หน่วยงานด้านแรงงานอาจสนับสนุนส่งเสริมการทำงานอาชีพที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย หรือ รัฐอาจมีมาตรการหลายประการ เช่น ขยายอายุเกษียณของการทำงานเพื่อให้คนทำงานยาวนานขึ้น หรือ อาจต้องมีการรณรงค์ ให้ประชาชนออมเพื่อวัยเกษียณที่ยั่งยืนของตนเองด้วยการ อาจมีการให้มาตรการจูงใจทางภาษีต่าง ๆหรือ รณรงค์ ให้ครอบครัว สังคม ซึ่งจะต้องให้ความรักความเอาใจใส่ มีการเกื้อหนุนดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคมให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ เช่นงานประเพณีต่างๆ หรือในอนาคต อาจมีการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อผู้สูงอายุ โดยเน้นให้ทุกคนในชุมชน หรือสังคม มีข้อตกลงทางสังคมร่วมกัน รับหลักการเดียวกันในการที่จะปฏิบัติเพื่อให้ทุกคนในชุมชน หรือสังคมมีสุขภาพที่ดี เช่น การกำหนดนโยบาย ไม่ให้มีการทอดทิ้ง ผู้สูงอายุในชุมชน นโยบายครอบครัวอบอุ่น เป็นต้น


ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอาจเป็นทางออกในการแก้ปัญหาความสมดุลระหว่างประชากรที่เกิดที่มีอัตราต่ำและอัตราผู้สูงอายุที่สูงขึ้น แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของผู้สูงวัย ให้กลุ่มคนเหล่านั้นมีคุณค่า และมีมาตรการเชิงรุก เช่น การฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้ เช่นการออม หรือ โดยมีการรงค์ทางสังคม ในนโยบายภาค รัฐ ภาคประชาสังคม ชุมชน ครอบครัว ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะเป็นส่วนหนุนเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต เมื่อเขารู้จักช่วยเหลือตนเอง ส่วนมาตรการทางระบบรัฐสวัสดิการ ประกันสังคม อาจเป็นเพียงมาตรการเสริม ก็เป็นไปได้หากเขารู้จักรับผิดชอบและดูแลตนเองได้ ปัญหาการเกิดที่ลดลง คนสูงอายุที่เพิ่มขึ้นทั้งที่ ญี่ปุ่น และทั่วโลก อาจไม่เป็นปัญหาต่อไปก็ได้

อย่าลืมไปนะครับ..เราทุกคนตอนนี้ยังหนุ่มสาว..สักวันเราก็ถึงวัยสูงอายุ...มาร่วมสร้างสังคมให้เกิดสุขสมวัย เพื่ออนาคตมั่นคงของชีวิตสูงวัย ข้างหน้าตั้งแต่วันนี้พร้อมๆกันครับ..


โดย อาณาจักรโกวิทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น