วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทักษะเบื้องต้นการประสานงาน


คอนแบคได้กล่าวไว้ว่า “ความรู้  คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์

มันอาจเป็นคำนิยามกว้างๆ ยังไม่ลงซึ่งรายละเอียดว่ามันคืออะไร อย่างไร แต่มันสอดคล้องที่จะอธิบายตน ว่ากระมีความรู้อะไรบ้าง

หากดูในนิยามของ คอนแบค จะมีคำสำคัญอยู่ 3 คำ คือ

1.การเปลี่ยนแปลง
2.พฤติกรรม
3.ประสบการณ์

การที่คนเราได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลง และได้สัมผัส โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น สัมผัส  ทำให้เกิด การได้เห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ลิ้มรส   การได้สัมผัส  สิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดีเกิดการเรียนรู้และสะสมเป็นความรู้ในชุดหนึ่งในตัวของเรา


หลายท่านอาจมากว่า การประสานงาน เป็นอาชีพได้ด้วยเหรอ ?  แล้วทำอะไรบ้าง?
การประสานเป็นหัวใจของทุกองค์กร ที่ทำงาน ไม่ว่าหน่วยงานไหน แต่อาจแทรกในตำแหน่งต่างๆเพราะทุกอย่างมนุษย์ทำงานร่วมกันต้องติดต่อประสานงานกัน เพื่อให้เกิดงานและบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน แต่หากในที่นี้จะกล่าวโดยเฉพาะคือ ตำแหน่งประสานงาน เพราะเปรียบเสมือนจุดเชื่อม การทำงาน โดยการสื่อสารภายใน ในภายนอกขององค์กรให้เกิดการเรียนรู้ การทำงาน ขับเคลื่อนองค์กรให้สู่เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ ขององค์กรให้สำเร็จได้
            การประสานงาน นั้นใช่ว่าทุกคนจะทำได้เพราะเป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะ ความรอบด้าน ประสบการณ์ โดยต้องเข้าใจสถานการณ์รอบด้าน และมองทุกอย่างให้ ทะลุปรุโปร่ง เหมือนที่ รศ.รังสรรค์แสงสุข อดีตอธิการบดี รามคำแหงบอกต้องมองแบบ “ ซีทรู”  คือเห็นทุกมิติ เข้าใจทุกแก่นสาร

ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งของนักประสานงาน    

ประการแรก คือ การสื่อสาร เพราะการสื่อสารเป็นหัวใจ ของการติดต่อประสานงาน การทำงานงานร่วมกันทั้งภายในภายนอกองค์กร ต้องมีทักษะการสื่อสาร ทั้งจิตวิทยาของผู้สื่อสารและการรับสาร หากขาดหัวใจ ส่วนนี้แล้วย่อมทำให้เกิดความผิดพลาดล้มเหลวในการทำงาน            
ประการที่สอง คือ ทักษะการเป็นนักกระบวนการ คือ การจัดประชุม สัมมนา ดึงการมีส่วนร่วม จากผู้ที่ทำงานร่วมกันและผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอด ความรู้ หรือจุดประสงค์ของการทำงาน อาจเป็นโครงการ หรือยุทธศาสตร์ ทักษะตรงนี้สำคัญมาก            
ประการที่สาม คือ ทักษะด้านจิตวิทยา คือ การเห็นปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น งานด้านติดต่อประสานงานเป็นงานที่อาศัยความรอบด้านด้าน เหมือนที่กล่าวมาข้างตน การที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลง และปรับเปลี่ยนได้เสมอ เป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นมาก หากปรับเปลี่ยนไม่ทันก็อาจทำให้งานนั้นล้มเหลวและไม่ประสบความสำเร็จได้            
ประการที่สี่ คือ เป็นนักแสวงหาความรู้ คือ เท่าทันความรู้ นวัตกรรมใหม่ๆ โดยสามารถนำเสนอและแลกเปลี่ยนได้ในที่ประชุม ซึ่งการเป็นนักแสวงหาความรู้นี้จะเป็นการเติมเต็มงานและเสนอสิ่งใหม่ๆให้เกิดการขับเคลื่อนประสานงานและพัฒนาได้          

สิ่งเหล่านี้ได้มาจากไหน? อย่างไร นำไปใช้ประโยชน์อย่างไร             สิ่งเหล่านี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ได้มาจาก ประสบการณ์ จากการทำงาน ก่อนจะได้ประสบการณ์เหล่านี้ คือ โอกาส  ซึ่งหมายถึง การได้ทำงานและสะสม จนเกิดเป็นทักษะโดยหมั่นฝึกฝนเรียนรู้ ถอดบทเรียนทั้งด้วยตนเอง และประชุมกับผู้ร่วมงาน ให้เกิดการสะท้อน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จนเกิดเป็นความชำนาญ ความเป็นนักวิชาชีพ  โดยการประสานงานจะเป็นอาชีพที่เกื้อกูลตัวเราและองค์กร พัฒนาองค์กร สิ่งที่สำคัญที่ลืมไม่ได้ของนักประสานงาน คือพัฒนาตนเองสม่ำเสมอและเป็นนักแสวงหาความรู้นวัตกรรมเสมอ ด้วยเหตุผลที่ได้อธิบายทั้ง4ประการ คุณก็จะเป็นนักประสานงาน