วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

พระอาทิตย์คืนแรม (ที่มาของเรื่อง)

โดย อาณาจักร โกวิทย์

วันนี้นั่งเรียน กับอาจารย์ ชมัยภร แสงกระจ่าง เล่าเรื่องการเขียนเรื่องสั้น หรือวรรณกรรม “พระอาทิตย์ คืนแรม”


อาจารย์ชมัยภร เล่าว่า พระอาทิตย์คืนแรมพิมพ์ครั้งแรกปี ๒๕๓๙ ในนิยสารขวัญเรือน และพิมพ์รวมเล่มปี ๒๕๔๓

โดยอาจารย์ เล่าว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นจาก การที่ตนเองจะไปฟังธรรมะ จากหมอ อมรา มลิลา ระหว่างที่อยู่ในห้องปฏิบัติธรรมนั้นเห็นคนแก่ จูงเด็กหนุ่มวัย ๒๐ ปีเข้ามา ซึ่งในใจปกติอาจารย์ท่านจะเห็นแต่หนุ่มวัยรุ่นจูงมือหญิงชราคราแม่เข้ามา...ในระหว่างที่หญิงชรากำลังจูงเด็กหนุ่มเข้าก็ได้ยิน เสียงนินทา (ซึ่งคุณชมัยภรมองว่าเป็นจุดหนึ่งที่พบบ่อยในสังคมไทย) ว่า “เด็กผู้ชายคนนี้ฆ่าตัวตาย แต่ไม่ตาย กระสุนปืนตัดผ่านประสาทตา ทำให้เด็กคนนี้ตาบอด”

อาจารย์จึงเกิดแนวความคิด และแรงบันดาลใจอยากเขียนเรื่องนี้ แต่ถ้า เราไปถามเด็กคนนั้นคงเสีย ความรู้สึก เพราะเขาพึ่งผ่านเรื่องราวเลวร้ายมาในชีวิต ดังนั้นอาจารย์จึงเล่าว่า “ต้องอาศัยจินตนาการ เราจะไปหยาบคายกับชีวิตเขาไม่ได้” จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการแสวงหาข้อมูล

พระอาทิตย์คืนแรม อาจารย์ชมัยภร กล่าวว่า หมายถึง “พระอาทิตย์ส่องแสงสว่างได้ตอนกลางคืน เขาจะรู้ได้อย่างไร การดำเนินชีวิตจะไปทางไหน”

เด็กคนที่เป็นต้นเรื่องที่ตาบอด จากวง นินทา ทราบว่าเกิดจาก อาการของคน อกหัก แต่ อาจารย์ชมัยภร เชื่อว่าปกติคนหนึ่งคนจะทำร้ายตัวเองต้องมีเหตุผลมากกว่านั้น ที่สำคัญอาจมาจากการกดดันของคนที่อยู่รอบๆข้าง
อาจารย์ลดอายุจริงของตัวละคร จากอายุ ๒๐ ให้เป็นเด็กมัธยมอายุ ๑๗-๑๘ ปี โดยวางตัวละครที่เข้ามามีส่วนกดดันให้กับตัวเอก ของตัวละครที่จะฆ่าตัวตาย..

คำถามแรก เด็กจะเอาปืนมาจากไหน ดังนั้นความน่าเชื่อถือของตัวละคร จึงต้องมีสภาพแวดล้อมที่เด็กสามารถ มีปืนได้ จึงวางตัวละครแวดล้อมคือ พ่อค้าอาวุธปืนกับทหาร

โดยบทบาท พ่อ จะเป็นตัวบีบ กดดันลูก โดยพ่อจะไปกดดันตัวแม่ และ
บทบาทของแม่ ถูกพ่อกดดัน และไม่ชอบแฟนของลูกชาย จะมีความรัก ห่วงลูก มากเกินไปโดยอาจารย์เล่าเสริมว่า เวลาวางตัวบทละครต้องมีความชัดเจน โดย “คิดเหตุและผลชัดเจน”

บทบาทของพระเอก เป็นลูกชายคนเล็ก มีพี่ชาย ๑ คน โดยพี่ชายเป็นลูกที่ติดมากับแม่ ก็จะยิ่งกดดันลูกชายคนเล็ก เพราะลูกชายคนเล็ก ยิ่งจะเป็นความหวังของพ่อในเรื่องพระเอก ชื่อ “กรรณ.” แปลว่า “หู”
เมื่อวางโครงเรื่องเสร็จ ที่สำคัญข้อมูลจะหามาจากไหน...ดังนั้นจึงต้องเริ่มหาข้อมูล
โดยสถานที่แรกที่ไปหาข้อมูล คือ โรงเรียนสอนคนตาบอด ของสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สถานที่ต่อมา คือโรงเรียนพระมหาไถ่ ชลบุรี

คนตาบอด เนื่องจากตาของเขาบอด ดังนั้นประสาทสัมผัส หู ของเขาจึงมีรายละเอียดมาก ดังนั้นจง “อย่านินทาคนตาบอด”..และ “อย่าจับไม้เท้า เพราะการจับไม้เท้า คือการปิดตาของเขา”

คนตาบอดนั้นมี ๒ ประเภท คือ แต่กำเนิด กลุ่มนี้จะดูแลง่ายที่สุด

กลุ่มที่ ๒ คือคนที่ตาบอดช่วง หนุ่มสาว กลุ่มนี้จะทุกข์ทรมานมาก เพราะเขาเคยมองเห็น และเขาจะโกรธมากที่มองไม่เห็น
การเก็บข้อมูล อีกคนหนึ่ง คือไปเก็บข้อมูลที่นครราชสีมา โดยเป็นคนตาบอด ที่ประกอบอาชีพหมอนวด โดยคนนี้ พิเศษกว่าคือ เขารู้ว่าเขาจะตาบอดอีก ๒ปี เมื่อเขาศึกษาคุรุศาสตร์ ปี ๓ โดยเขามีชื่อว่า ปฐพี หรือ พีร์ โดยเขาทราบเมื่อไปตรวจที่คลินิกแห่งหนึ่ง โดยมีคนตัดแว่นแก่ๆคนหนึ่ง ทำนายเขาว่าเขาจะตาบอดภายใน ๒ปี เขาโกรธมากและด่าทอคนแก่คนนั้นอย่างเสียหาย และภายหลังเขาไปตรวจที่โรงพยาบาล หมอได้บอกกับเขาว่าเขาจะตาบอดภายใน ๒ ปี พอทราบเขารีบวิ่งกลับไปหาคนตัดแว่นแก่ๆคนนั้น พอไปถึงร้านและถามหาคนแก่ที่เคยคนแรกว่าเขาจะตาบอดภายใน ๒ปี กลับได้ข่าวร้ายว่า “ลุงคนนั้นเป็นจักษุแพทย์ที่เกษียรและมาเปิดร้านตัดแว่นเล็กๆ ตอนนี้เขาเสียชีวิตแล้ว”

หลังจากพีร์ ได้ทราบว่าตนเองจะตาบอด “เขาไปส่งพระอาทิตย์ทุกวัน ในช่วงรับแสงพระอาทิตย์และตกทุกวัน”
และมีครั้งหนึ่งเขาคิดสั้นส่งจดหมายถึงเพื่อนๆ ทุกคนว่าเขานอนไม่หลับขอยานอนหลับจากเพื่อนๆค่อยสะสม เมื่อสะสมได้จำนวนเยอะ เขาก็กินยานอนหลับจำนวนร้อยกว่าเม็ด แต่โชคร้ายไม่เข้าข้างเขายานอนหลับที่เขากินกระเพาะไม่รับ ทำให้เขาตื่นมาอีกทีที่โรงพยาบาล เขาได้ยินเสียงร้องไห้ของคนแก่ขณะที่เขาค่อยๆลืมตาและรู้สึกตัว คนแก่ ชายแก่ๆไม่ใช่คนอื่นคนไกลเป็นพ่อของเขานั้นเอง

จากเหตุการณ์วันนั้น ทำให้ คิดว่าเขาตายไม่ได้ เขาจึงลุกขึ้นมาเตรียมตัวตาบอดภายใน ๒ปี อย่างไม่สิ้นหวังไปเรียน การใช้ไม้ท้าว การใช้ชีวิตแบบคนตาบอดทั่วไป....และภายหลังเขาก็ทราบว่าที่เขาตาบอดเพราะมันเป็นโรคกรรมพันธุ์ของครอบครัวเขา...