วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

นโยบายปรับค่าแรง 300บาท กับ อาชีพนักศึกษาและผู้ค้าแรงงานส่งตัวเองเรียนราม

นโยบายปรับค่าแรง 300บาท กับ อาชีพนักศึกษาและผู้ค้าแรงงานส่งตัวเองเรียนราม


หากกล่าวถึงเรื่องการเมืองหลังการเลือกตั้ง นโยบายที่พรรคเพื่อไทยหยิบยกและเร่งดำเนินการ โดยหน้าข่าวสื่อพูดถึงมากที่สุดเรื่องหนึ่งในช่วงนี้น่าจะเป็นประเด็น ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และเงินเดือนขั้นต่ำ 15.000 บาท สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรี


ถ้ามองนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน จากมุมมองนายจ้างเสียงส่วนมาก อาจถูก ต่อต้านจากสถาบันอันเป็นตัวแทนของทุนใหญ่ อย่างเช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ฯลฯ ในเรื่องต้นทุนการผลิต ที่สูงขึ้นรวมถึงความสามารถในการแข่งขันทางการค้าและการลงทุนของต่างชาติ


แต่ถ้าหากมองในเสียงสะท้อนจากผู้ที่ใช้แรงงาน ก็อาจมีคำตอบอีกคำตอบหนึ่งที่อาจตรงกันข้ามกับฝั่งนายจ้าง
วันนี้ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งทำงานด้วยเรียนไปด้วยหลากหลายอาชีพ ด้วยกัน ที่มีมุมมองความคิดเห็นต่อนโยบายเรื่องนี้ของรัฐบาล


พนักงานร้านไอศกรีมชื่อดัง และหัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัยห้างสรรพสินค้า หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า “ทุกวันนี้ได้ค่าแรง วันละ 27 บาท ต่อชั่วโมงมาทำงานที่ร้านไอศกรีม คาดหวังว่าจะได้ค่าแรงวันละ 300 บาทเหมือนกัน เพราะมาทำงานที่นี้ นอกเวลาทำงานปกติ ปกติทำงานที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง โดยเป็นหัวหน้ารักษาความปลอดภัย โดยได้เงินเดือน 8,400 บาท ซึ่งเฉลี่ยกันแล้วไม่ถึงวันละ 300 บาท ต้องทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน”

โดยกล่าวว่าอยากได้ค่าแรงสูงขึ้น แต่ต้องรอรัฐบาล เพราะเขาไม่สามารถต่อรองกับนายจ้างได้ ต้องช่วยเหลือตนเอง นอกจากทำงานปกติ ต้องมาทำงานนอกเวลา ชั่วโมงละ 27บาท วันละ 4 ชั่วโมงเพื่อให้มีเงินเพียงพอกับค่าใช้จ่ายทั้งการเรียนและใช้จ่ายต่างๆ เช่นในชีวิตประจำวันและส่งกลับบ้าน


มงคล พนักงานร้านสะดวกซื้อ หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า นโยบายค่าแรงขั้นต่ำสนับสนุนเต็มที่ เพราะปกติก็ทำงานเฉลี่ยรายได้ทำงานปกติวันละ 8 ชั่วโมง โดยมีวันหยุดหนึ่งวันก็มีรายได้ไม่ถึงวันละ 300 บาท เมื่อรวมหนึ่งเดือนก็ไม่ถึง 9,000 บาท โดยหากต้องการมีรายได้มากขึ้น ต้องทำงานเพิ่มวันหนึ่งถึง 12 ชั่วโมง

มงคล กล่าวต่อไปว่า การขึ้นค่าแรงสนับสนุนเต็มที่ แต่อาจกระทบกับนายจ้างบ้าง เช่น เรื่องบริหารจัดการที่สูงขึ้น ร้านมีกำไรน้อยลง ถ้าได้ 300 บาทต่อวัน ส่งผลดีต่อเขา เพราะได้ทำงาน 8 ชั่วโมง อาจไม่ต้องทำงานเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อต้องการรายได้ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย โดยเขายังได้มีเวลาพักผ่อน และใช้ชีวิตส่วนตัวบ้าง

หากการนำเสนอค่าแรงขั้นต่ำให้อยู่ที่ 300 บาทต่อวัน เป็นเป้าหมาย เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของ ผู้ใช้แรงงาน และนำไปสู่การปรับโครงสร้างค่าแรงให้สอดรับและใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง นโยบายนี้จะเป็นไปได้จริง หรือไม่ อาจต้องมีการเจรจาหลายๆฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้าง โดยรัฐบาลเป็นคนกลางดุแลประชาชน แต่ตอนนี้ ผู้ใช้แรงงาน และนักศึกษาที่ทำงานควบคู่กันไปด้วย ในส่วนบริษัททุนใหญ่ๆ ที่มีผลประกอบการณ์ต่อปีสูง รอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง ต้องการมากที่สุด คือ คุณภาพชีวิต ที่ดีที่ควรได้รับจากการทำงานและเหลียวแลจาก นายจ้างและรัฐบาล ในสวัสดิการแรงงานที่เขาควรได้รับ.


โดย อาณาจักร โกวิทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น