วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

เรื่องเล่าใน ตลาดบางกะปิ.

เรื่องเล่าใน ตลาดบางกะปิ...




คุณคิดว่าคนที่ขายของในตลาดสดทุกเช้าเป็นเป็นคนไทยไหม


ในตลาดสดสมัยก่อนเช้าๆ อาชีพที่ค้าขายขนแบก หาบ ขนสินค้าต่างๆ สมัยก่อนเป็นคนจีนที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย ปัจจุบันสังคมมีเปลี่ยนแปลงไป คุณคิดว่าใคร จะมาทำหน้าที่แบบนี้แทนคนไทย ที่ไม่ทำงานด้านนี้มันดูไม่มีศักดิ์ศรี เมื่อคนจีนร่ำรวยและเลิกทำแล้ว

ภายในสถานที่เปียกแฉะ ชื้นและมีกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ กลิ่นอาหาร เสียงคนทำกับข้าว เคาะกระทะ ผัดอาหาร กลิ่นคลุ้งอบอวลทั่วตลาด เสียงคนเรียกลูกค้าเข้าร้าน ผู้เขียนได้ไปซื้อของในตลาดแห่งนี้มีโอกาสเจอผู้คนมากมายหลากหลาย ในตลาดบางกะปิ แต่ผู้เขียนไปสะดุดหู กับคนที่พูดไม่ชัด มีทานาคา สีเหลือง ที่ใช้หวี ทำเป็นแฉก วางกดทับหลายๆครั้งจนเป็นจุดวงกลมหนา ซึ่งเป็นเครื่องประทินผิว ที่เป็นที่นิยมของชาวพม่า ผมลองจึงสอบถาม และได้พูดคุยกับเขา ตอนที่คุยกันเขาไม่มีท่าที่ที่ตื่นเต้น หวาดกลัว เหมือนที่ผมเคยคุยกับคนต่างด้าวที่มาทำงานในเมืองไทยที่ผมเจอ โดยเขามีชื่อว่า นินี

นินี เป็นชาวพม่าเมือง ปากู ภาคกลางของพม่า อายุ 35ปี เขามีชื่อเล่นภาษาไทยว่า เอ๋ เขาเป็นลูกจ้างร้านขายของชำที่ตลาดบางกะปิมาแล้วหลายสิบปีเขาบอกว่า ที่ตลาดแห่งนี้มีแรงงานพม่าเยอะ.โดยส่วนใหญ่ รับจ้างทั่วไป มีตั้งแต่แบกน้ำแข็ง ขนผัก ขายเนื้อ ขายหมู ขายไก่ ขายของชำทั่วไป โดยเป็นอาชีพรับจ้างทั่วไปในตลาด ซึ่งตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำกันแล้ว
เอ๋ เขาเล่าว่า เขาทำงานที่ตลาดบางกะปิ เขาชอบมากเพราะมีของกินของใช้ให้เลือกมากมายต่างจากเมืองที่เขาอยู่ ผู้คนก็น่ารัก เจ้านายก็ดูแลเขาเป็นอย่างดี โดยเขาเล่าให้ฟังว่าค่าแรงที่นี้เขาทำตั้งแต่นายจ้างให้ค่าแรงเดือนละ 350 (สามรายห้าสิบบาท) ตอนนี้เขาได้ค่าจ้างวันละ 200บาทแล้ว เดือนหนึ่งก็ตก 6,000 บาท เขาเล่าว่าที่นี้ค่าแรงแพงกว่าที่พม่าเยอะมาก ที่โน้น ค่าแรงสูงสุดวันละ 80 บาทและต้องทำงานหนักมาก ที่นี้ เช่นน้องเขาทำงานที่โรงงานผลิตน้ำดื่มได้เงินน้อยและหนักกว่าเมืองไทยมาก เขาจึงพาน้องเขามาอยู่ที่ตลาดลาดแห่งนี้ด้วย

เขาเล่าว่าเขาเข้ามาเมืองไทย ที่แม่สอด จังหวัดตาก ตอนนั้นลำบากมาก เขาเล่าพร้อมกับน้ำตาว่า “ลักลอบเข้ามากับรถบรรทุกโดยสารที่ถูกดัดแปลงให้คนอยู่บนบนรถคับแคบมากและคลุมผ้าอย่างดีรถแออัด เบียดกัน แออัด มืดไร้แสงที่จะเล็ดรอดเข้ามา” เขาบอกกับผมพร้อมน้ำตาว่า “รถที่เขานั่งมาด้วยนั้นมีคนตายด้วยเพราะขาดอากาศหายใจ คนที่ตายนายหน้าก็โยนศพเขาก็ทิ้งไว้ข้างทางเส้นทางระว่างแม่สอด- ตาก เอ๋ เล่าต่อ เขาโชคดีที่ไม่ตาย และรถผ่านด้านตำรวจมาได้ เขาเล่าว่าเขาได้ยินข่าวเพื่อนที่ตามมาที่หลังต่อเจ้าเขาถูกจับ และทราบมาทีหลังว่าโดนติดคุกสองปี เอ๋เสริมว่า ขแหล่านั้นเสียโอกาสในการทำงานโดยที่คนทางบ้านไม่มีคนรู้ด้วยซ้ำและรอคอยเงินเพื่อส่งกลับมายังบ้าน..



หลังจากที่เอ๋ได้มาทำงาน โดยนายหน้าพามาพบนายจ้าง เอ๋บอกว่าตอนนี้เขามีความสุข เขาซื่อสัตย์ต่อเจ้าของร้านไม่เคยขโมยเงิน ตอนนี้นายจ้างก็ไว้วางใจเขาให้ดูแลร้าน กว่าจะมาเจอนายจ้างดีๆ ที่ตลาดบางกะปิเขาเปลี่ยนนายจ้างมากว่า 10 คน จนกว่าจะได้เจอนายจ้างดีๆ เขายังเล่าว่าชาวพม่าเพื่อนเขาหลายคนในตลาดแห่งนี้ปัจจุบันใครจะมาทำงานที่เมืองไทยต้องจ่ายค่านายหน้า 16000 บาท โดยให้นายจ้างหักจากเงินเดือน



ชิด ชายหนุ่มวัย 27 ปี เคี้ยวหมาก ริมฝีปากแดง ฟันไม่เป็นสีดำ แต่มีคราบสีชา ของหมากเคลือบฟันอยู่ รูปร่างเขาสันทัด ผิวเหลือง ดูสะอาดสะอ้าน กว่าอีกสองคนที่มาจากเมืองปากู ที่ผมได้คุยด้วย พอได้คุยเลยได้ทราบว่าเขามาจากเมืองหลวงเก่าของพม่าคือเมืองย่างกุ้ง เขาเป็นแรงงานพม่าอีกคนที่มาทำงานในกรุงเทพ โดยเขาแปลกกว่า 2 คนที่ผมได้คุยด้วย คือเขาทำหนังสือเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว และลักลอบอาศัยอยู่ในไทย ให้เพื่อนหานายจ้างให้จนตอนนี้เขาได้ขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานถูกกฎหมายแล้วเขาเล่าว่าถ้ามีเงินหน่อยเข้ามาเมืองไทยง่ายแต่จะทำงานเมืองไทยต้องมีคนรู้จัก เขาได้นายจ้างที่ทำงานตลาดบางกะปิ ขาจึงขายของร้านขายเครื่องใช้ในครัวเรือน เขาเล่าว่าเขาอยากกลับบ้านมากเพราะแม่เขาป่วย แต่นายจ้างไม่ให้กลับและยึดบัตรเอกสารทางรายการเกี่ยวกับเขาไว้หมด ทำให้เขาไม่ได้กลับ...เขาอยากกลับบ้านมาก...จะกลับก็กลับไม่ได้ถ้าไม่มีเอกสาร เขาอาจต้องโดนจับ และก็ติดคุก..เขาเล่าว่า ที่จริงเขาก็ไม่อยากกลับเพราะงานที่ทำในเมืองไทยสบายที่เขาทำอยู่ร้านชำ ไม่ต้องแบกหามมาก สบายกว่างานที่ประเทศเขาที่ต้องแบกหาม หามรุ่งกามค่ำ รายได้ก็ก็เยอะกว่า..งานก็มีทำมากมายมี คนก็มีอิสระ ข้าวของกินก็มีมากมาย


สู่ ชายหนุ่มวัยสามสิบกว่าๆ เขาอยู่เมืองเมียวดี ตรงข้ามอำเภอแม่สอดจังหวัดตาก..สู่ มาทำงานเมืองไทย โดยเป็นพ่อครัวอยู่ร้านอาหารตามสั่งในตลาดบางกะปิ เขาเล่า อย่างยิ้มแย้ม สายตาเป็นเป็นมิตรฉายแววแห่งความสุข เขาบอกว่าเขาทำงานที่นี้ บ่ายสองโมง ถึง เที่ยงคืน มีวันหยุดหนึ่งวัน โดยเขาอยู่พักอาศัยกับเจ้าของร้านโดยได้เงินเดือน 6,500 บาท เท่าที่ผมสังเกตเขาเป็นชาวพม่าที่ดูแล้วน่าจะมีการศึกษาที่ดีหน่อยเพราะสังเกตในมือเขามีเอกสารอยู่ฉบับหนึ่ง เขาเล่าว่าเป็นหนังสือพิมพ์พม่า ซึ่งจะมีคนนำมาขายในตลาดไม่ใช่ใครที่ไหน คือเอ๋ นั้นเอง โดยเอ๋ รับมาจากนายจ้างที่ไปซื้อ และนำมาขายให้กับชาวพม่าที่สนใจเรื่องราวในพม่า โดยจะไม่ออกประจำเดือนหนึ่งอาจมี 1-2 ฉบับ สู่บอกกับผมว่าที่เขาอ่านเพราะทำให้เขารู้ความเคลื่อนไหวเหตุการณ์ในประเทศเขาและทำให้หายคิดถึงครอบครัวเขา.


บางครั้งคนไทยเรารักความสะดวกสบายมากเกินไป คนที่เขาลำบากมากกว่าเราก็มีมากกมาย แต่เขาก็มีความสุขได้ท่ามกลางความลำบาก คนจีนสมัยก่อนที่มาอยู่เมืองไทย เก็บออมเล็กผสมน้อย สมัยนี้เป็นคนที่ร่ำรวยระดับประเทศ เจ้าของกิจการระดับโลก ระดับประเทศหลายคนที่ควบคุมเศรษฐกิจของคนไทย ไม่แน่นะครับคนพม่าที่ขยัน อดทน และทำงานส่งเงินกลับประเทศ ในอนาคตเขาอาจเป็นเหมือนคนจีนที่เข้ามาเมืองไทย แต่สิ่งที่ผมเห็นตอนนี้ คือ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ แม้บางครั้งจะมีคราบน้ำตาที่เขาสนทนากับผมก็ตาม แต่ผมเชื่อว่าเขาก็สุขตามอัตภาพของเขาได้ นี้คือเรื่องเล่าที่เกิดขึ้นในตลาดบางกะปิตลาด เราคนไทยแบบเราๆละครับ..วันนี้เรายังรอเงินเดือนภาครัฐ ค่าจ้าง 300 บาท หรือเราจะทำงานก้มหน้าก้มตาม ทำอะไรก็ทำเหมือนที่คนพม่าเขาทำอยู่ตอนนี้....


โดย อาณาจักร โกวิทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น